การจัดแสงหรือการจัดไฟในวงการถ่ายภาพหรือการถ่ายทำภาพยนตร์นั้นมีมานานแล้ว เพื่อให้วัตถุหรือบุคคลที่ถูกถ่ายมีความสว่างมากพอต่อการถ่ายทำ โดยการจัดแสงนั้นสามารถทำได้ทั้งในพื้นที่ปิดที่แสงส่องไม่ถึง หรือแม้กระทั่งในพื้นที่เปิดที่มีแสงสว่างส่องอยู่แล้ว
ในการจัดแสงสำหรับการถ่ายภาพหรือถ่ายวิดีโอนั้นมีหลากหลายวิธีด้วยกัน และแต่ละรูปแบบการจัดแสงนั้นจะให้อารมณ์ความรู้สึกและความโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่เทคนิคการจัดไฟหรือจัดแสงเบื้องต้นนั้นมีเพียงไม่กี่วิธีเท่านั้น ได้แก่
1. เทคนิคการใช้แสงธรรมชาติ (Natural Light)
แสงธรรมชาตินั้นหาได้ง่ายมากๆ และไม่มีต้นทุนอะไร เพียงแค่หาพื้นที่ที่แสงแดดส่องถึงก็เพียงพอแล้ว ในส่วนของการจัดองศาของทิศทางแสงนั้น ส่วนใหญ่จะให้แสงนั้นเข้ามาที่บริเวณด้านข้างของวัตถุหรือแบบ และไม่ควรตั้งกล้องให้ถ่ายย้อนแสง
แต่ความพิเศษหนึ่งอย่างของแสงธรรมชาตินั้นคือแสงในแต่ละช่วงเวลานั้นจะมีความเข้มของแสงและสีที่แตกต่างกัน ทำให้การเลือกถ่ายภาพนั้นมักจะใช้เสียงในช่วงเวลา 6:30 น. - 8:00 น. และ 4:00 น. ไปจนถึงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน
2. เทคนิคการใช้แสงธรรมชาติและแผ่นสะท้อนแสง (Natural Light + Reflection)
การใช้แสงธรรมชาตินั้นแน่นอนว่าเราไม่สามารถควบคุมความเข้มและทิศทางของแสง ณ เวลานั้นได้ ทำให้เราต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้การถ่ายภาพนั้นออกมาได้ดังใจเรา ซึ่งโดยปกติแล้วการใช้ Reflction หรือแผ่นสะท้อนแสงนั้นจะนำไปไว้ในด้านที่แสงไม่เข้า เพื่อสะท้อนแสงไปในด้านที่มืดของวัตถุหรือตัวแบบ
นอกจากนี้ Reflection ยังสามารถ Bounce แสงให้มีความเข้มน้อยลง เอาไว้ใช้กรองแสงสำหรับการถ่ายทำ ณ เวลาที่แดดแรงมากเกินความจำเป็น
3. เทคนิคการใช้ไฟหนึ่งจุด (One-Point Lighting)
ในกรณีที่ถ่ายทำในสถานที่ปิด ไม่มีแสงธรรมชาติเข้าถึง ทำให้ต้องใช้ไฟเข้ามาช่วยเป็นแหล่งกำเนิดแสงแทนที่ของแสงจากดวงอาทิตย์ โดยการใช้ไฟหนึ่งดวงนั้นมีด้วยกัน 2 แบบหลักๆ คือ
วางแหล่งกำเนิดแสงไว้ด้านหน้า
รูปแบบนี้เป็นที่นิยมในการจัดไฟ โดยส่วนใหญ่จะนำไฟตั้งเฉียงจากตัวแบบหรือวัตถุ 45 องศา เพื่อให้เกิดแสงตกกระทบที่บริเวณด้านหน้า
วางแหล่งกำเนิดเสียงไว้ด้านบน
ในรูปแบบนี้จะพิเศษกว่ารูปแบบก่อนหน้าตรงที่แสงจะส่องไปยังตัวแบบหรือวัตถุโดยเฉพาะ และแสงกระจายไปทั้งฝั่งซ้ายและขวา
4. เทคนิคการใช้ไฟสองจุด (Two-Point Lighting)
การจัดไฟแบบสองจุดจะถูกวางไว้ที่ด้านซ้ายและด้านขวาของวัตถุฝั่งละ 1 ตัว และเฉียงเข้าหาวัตถุหรือตัวแบบ ซึ่งการจัดไฟสองจุดจะแบ่งออกเป็น Key Light (ไฟหลัก) กับ Fill Light (ไฟรอง) โดย Key Light ทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลัก วางไว้ฝั่งที่ต้องการให้ตัวแบบหรือวัตถุมีความเด่นและสว่างมากกว่าอีกฝั่ง และส่วนของ Fill light ทำหน้าที่เพิ่มความสว่างให้กับฝั่งที่แสงจาก Key Light ไม่ตกกระทบ
ความสำคัญของการจัดไฟแบบ Two-Point Lighting คือ Fill Light จะต้องมีความเข้มแสงที่น้อยกว่า Key Light เสมอ เพราะถ้าทั้งสองฝั่งมีความสว่างเท่ากัน จะทำให้ภาพออกมาดูแข็งถือ ไม่มีมิติ
5. เทคนิคการใช้ไฟสามจุด (Three-Point Lighting)
การจัดไฟแบบสามจุดนั้นเหมือนกับการจัดไฟแบบสองจุด แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือ Back Light ซึ่งนำมาตั้งไว้เพื่อเพิ่มความสว่างของพื้นหลังโดยเฉพาะ ทำให้สามารถควบคุมความสว่างของพื้นหลังได้โดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงความเข้มของแสงและสามารถปรับเพิ่มลดได้ตามความต้องการ
นอกเหนือจากการจัดไฟหรือการจัดแสงทั้ง 5 วิธีนี้ ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Four-Point Lighting ที่จะช่วยให้ตัวแบบมีมิติมากขึ้นกว่าเดิม และอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่าการจัดแสงนั้นมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับการจัดวางตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสง เรื่องของทิศทางเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของแสงและเงาที่แตกต่างกันออกไปและรวมไปถึงสื่ออารมณ์ที่แตกต่างกันอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการเลือกใช้ Softbox ซึ่งเป็นการควบคุมความเข้มและการกระจายตัวของแสง ซึ่งส่งผลต่อความคมชัดของเงาที่ตกกระทบ หรือ Contrast ของแสงและเงาที่บริเวณวัตถุ โดย Softbox นั้นมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการใช้งานของเรา
#เทคนิคการจัดแสง #StudioLighting #เทคนิคการจัดไฟ #OnePointLight #TwoPointLighting #ThreePointLighting #แสงธรรมชาติ #ถ่ายรูปแสงธรรมชาติ #เทคนิคถ่ายรูป #รับถ่ายรูป #สตูดิโอถ่ายภาพ #สตูดิโอ
Comentários